ทาง ALL ART CENTER ได้สร้าง CHANNEL เพื่อริวิวสินค้า และนำเสนอเทคนิคใหม่ ๆ สำรับผู้สนใจ ตามลิงค์นี้ครับ https://www.youtube.com/user/loengsak08
สำหรับผู้ที่ต้องการหล่อเรซิ่นหรืออื่นๆ แตยังขาดทักษะในการทำแม่พิมพ์ซิลิโคน ทาง All Art Center มีบริการทำแม่พิมพ์ซิลิโคนแล้วครับ เข้ามาคุยกันได้เลยครับ
โทร 081-6469618 หรือติดต่อทาง ID Line:@allartcenter
เรซิ่นปกติจะใช้ตัวทำแข็ง(hardener) ประมาณ 0.5-2% ของน้ำหนักเรซิ่น การใส่ hardener น้อยกว่าเรซิ่นมีโอกาสแข็งได้เหมือนกันแต่อาจจะช้ามากๆ เป็นวัน เป็นสัปดาห์ ถ้าใส่ hardener มากเกินไปจะเกิดปฏิกิริยารุนแรง มีความร้อนเกิดขึ้น เกิดการแตกกรือบิดงอของชิ้นงานได้
เรซิ่นจะไม่เซ็ตตัว เพราะตัวม่วง(Cobalt) เป็นตัวช่วยเร่งปฏิกิริยา ในการแข็งตัวของเรซิ่น
อีพ็อกซี่กลุ่มที่เซ็ตตัวช้าเมื่อผสม แล้วรีบเทบนพื้นผิวความชื้นในอากาศจะเข้ามาสัมผัสทำให้เกิดคราบ แก้โดยเมื่อผสมแล้วทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีหรือให้ส่วนผสมอุ่นๆ ค่อยเทลงพื้นผิว ความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาจะไล่ความชื้นออกไป ผิวที่ได้จะใสไม่มาคราบส่วน ที่มีปัญหาคราบไปแล้วให้ขัดออกแล้วเคลือบทับใหม่
จอดหน้าร้านได้ กรณีเต็มเข้าไปจอดในซอยงามวงศ์วาน 4 ได้ครับ
เราไม่ได้เปิดคอร์สสอน แต่เราแนะนำและให้คำปรึกษาฟรี เข้ามาพูดคุยกันได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเทคนิคการใช้วัสดุอุปกรณ์หรือการทำ ทั้งมือเก่าและมือใหม่
เราสามารถใช้ใยแก้วร่วมกับ Epoxy resin เคลือบโฟมได้เลย ถ้างานไม่ใหญ่ใช้ใยผ้า งานออกมาสวยงามแข็งแรง ไม่ต้องทำงานหลายขั้นตอน
ผิวของ Epoxy resin จะเป็นผิวที่ละเอียดมาก เมื่อสัมผัสจะหนึบเท้า ไม่ลื่น ไม่ว่าจะแห้งหรือเปียกน้ำก็ตาม กระเบื้องพื้นที่เราใช้อยู่ยังเลื่อนมากกว่าด้วยซ้ำ ไม่ต้องกลัว เหมาะกับผู้สูงอายุมากๆ ใช้แล้วปลอดภัย แห้งง่ายไม่สะสมของเชื้อโรค
การผสมซิลิโคนค่อนข้างยากกว่าผสมเรซิ่น อีพ็อกซี่หรือpu foam เนื่องจากมีความหนืดค่อนข้างมาก โดยเฉพาะมือใหม่ หลักสำคัญคือ
- ผสมอัตราส่วนให้ถูกต้อง ต้องชั่งส่วนผสมไม่กะหรือประมาณเช่นถ้าใช้ผซิลิโคน 100 ก ต้องชั่งตัวทำแข็งซิลิโคนประมาณ 2-4 ก
- ต้องคนให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน เนื่องจากความหนืดที่มาก เมื่อเราใส่ตัวทำแข็งลงในซิลิโคนให้ใช้ไม้คนดึงเอาซิลิโคนที่ก้นภาชนะขึ้นมาประมาณ 3-4 ครั้งเพื่อให้ตัวทำแข็งที่อยู่ด้านบนไหลลงไปคลุกเค้ากับซิลิโคนด้านล่างก่อนประมาณหนึ่ง จากนั้นคน(กวน) โดนเน้นที่ผนังด้านในและก้นภาชนะจนเรารู้สึกว่าส่วนผสมเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
- ภาชนะที่ใช้ต้องเรียบไม่มีลอน หรือมีร่อง
เรซิ่นจะไม่ติดซิลิโคน แต่สามารถใช้วาสลิน สเปรย์ซิลิโคน ทาหรือพ่นเพื่อให้แกะจากแม่พิมพ์ซิลิโคนง่ายขึ้นเพื่อยืดอายุการใช้งานของแม่พิมพ์
เกิดจากการผสมผิดสัดส่วน ส่วนผสมของ Pu foam ต้องใช้สัดส่วนโดยน้ำหนัก(ไม่ใช่โดยปริมาตร) ชั่งส่วนผสม part a 1 ส่วน part b 1 ส่วน ต้องชั่ง part a 100 ก part b 100 ก เป็นต้น ห้ามตวงเพราะจะทำให้สัดส่วนผิดไป และการคนผสมต้องเร็วและแรงพอ ถ้าคนผสมช้าๆ แบบคนเรซิ่นจะไม่เข้ากันดี ระยะต่อมาอาจจะยุบตัวได้
ใช้ใยแก้วเบอร์กลางๆ ไม่หนาไม่บางไป เช่น เบอร์ 450 สามารถจิ้มเข้าซอกมุมได้ดีพอควร แต่ถ้างานมีรายละเอียดมากเปลี่ยนมาใช้เบอร์ 300 ก็ทำงานง่ายขึ้นมาก
กลิ่นอ่อนมากสามารถทำงานได้สบาย ถ้าเราทำงานช่วงเช้า ตอนค่ำๆ ก็ใช้งานได้เลย ไม่มีกลิ่นรบกวนตอนนอนแล้ว
การทำสีควรเปิดผิวเพื่อให้ทำสีพ่นหรือทาติดแน่นขึ้นด้วย
- การล้างด้วยทินเนอร์หรืออะซิโตน
- แช่ด้วยส่วนผสมระหว่างน้ำกับโซดาไฟ แล้วล้างน้ำสะอาด ตากให้แห้ง
ปกติเก็บได้ประมาณ 2-3 เดือน ห่างจากแสงและความร้อน ถ้าเก็บในภาชนะป้องกันแสงเช่น ปี๊บโลหะ จะยืดอายุได้อีก 1-2 เดือน ควรเก็บในที่มีอากาศระบายดี ไม่ถูกแสงแดด ห้ามใส่ถุงดำมัดใส่กล่องยิ่งทำให้แข็งเร็ว
การแข็งตัวของเรซิ่นเกิดจากปฏิกิริยาแบบคายความร้อน ถ้าอุณหภูมิภายนอกต่ำในฤดูหนาว หรือตอนฝนตก เรซิ่นจะแข็งตัวช้ามากเพราะการเกิดปฏิกิริยาจะช้าลงตามอุณหภูมิภายนอก (อาการนี้เป็นเหมือนกันทั้ง epoxy resin และซิลิโคน)
เราสามารถผสมตามความเข้มของสีที่เราต้องการ ไม่จำเป็นต้องยึดเปอร์เซ็นต์ที่ทางผู้ผลิตแจ้งมา
pva แรงตึงผิวสูงเมื่อทาลงในพื้นผิวมันจะจับตัวคล้ายน้ำบนใบบัว ให้เรารอสักพักให้มีการระเหยแล้วทาทับไปเรื่อยๆ ที่สำคัญของการทา pva คือต้องทาให้ทั่วจริงๆ และรอให้แห้งสนิท ไม่เช่นนั้นจะติดตอนแกะชิ้นงานออก
ประมาณ 6 เดือน ห่างแสงและความร้อน
ใช้ epoxy resin เคลือบนิ่ม ได้งานที่ใส เงา ยืดหยุ่นได้ดี
ผงทัลคัมจะทำให้งานไฟเบอร์แข็งขึ้นไม่บิดงอง่าย ทึบแสง และเป็นการลดต้นทุนการใช้เรซิ่น แต่ถ้าใส่มาก ๆ น้ำยาจะข้นขึ้นซึมในใยแก้วยากขึ้น งานที่ได้อาจจะไม่แข็งแรง
การสูดเอาผงใยแก้วเข้าไปเป็นอันตรายควรป้องกัน เช่น ขั้นต้นใส่ผ้าปิดจมูก ถ้าต้องทำงานระยะเวลานานควรใส่หน้ากากป้องกันอย่างดี ควรทำในที่มีอากาศระบาย ใส่ถุงมือ และชุดที่ปกปิดเพราะถ้าโดนผิวหนังจะระคายเคือง
ถ้า slope ไม่มากไม่มีผลเพราะ น้ำยาจะเกาะพื้นผิวอยู่แล้ว แต่ถ้า slope มากหน่อยเราสามารถใช้แปรง ลูกกลิ้ง เกียงช่วยปาดขึ้นมาด้านสูงเมื่อน้ำยาเริ่มหนืดขึ้นเล็กน้อย
ต้องแบ่งการหล่อเป็น 2 ขั้นตอน
- ชั้นแรกผสมน้ำให้มากกว่าเนื้อปูนปลาสเตอร์เล็กน้อย นำปูนจะเหลว แล้วนำไปทาเป็นผิวแรกเพื่อเก็บรายละเอียด
- เมื่อช้ันแรกหมาดๆ ให้ผสมปูนปลาสเตอร์และน้ำ 1:1 เทส่วนที่เหลือ
จะได้งานที่ผิวเรียบสวย
ต่างกันที่คุณภาพ และผู้ผลิต ซิโคนที่คุณภาพดีจะสามารถเก็บรายละเอียดได้ดี หล่อซ้ำได้จำนวนครั้งที่มาก
ปกติเรซิ่นจะแข็งตัวได้เราต้องผสม เรซิ่นกับตัวม่วงก่อน แล้วเมื่อเวลาจะหล่อจึงผสม ตัวทำแข็ง(hardener) โดยตัวม่วงทำหน้าที่ช่วยเร่งปฏิกิริยาให้แข็งเร็วขึ้น แต่ถ้านำตัวม่วงผสมกับตัวทำแข็ง(hardener)โดยตรงจะเกิดปฏิกิริยารุนแรงเช่นเกิดประกายไฟหรือถ้ามากๆอาจจะระเบิดได้ เราจึงผสมตัวม่วงเพียงเล็กน้อยในเรซิ่นก่อนโดยสังเกตจากสีให้เปลี่ยนเป็นสีม่วงอ่อนๆ ก็พอ แล้วจึงผสม hardener เพียง 0.5-2%
เป็นพลาสติกคนละชนิดกัน นำมาประยุกต์ใช้ในงานที่แตกต่างกัน โดยเรซิ่นจะมีราคาถูกกว่า กลิ่นรุนแรงกว่า คุณภาพด้านต่างๆ จะด้อยกว่า อีพ็อกซี่ เรซิ่น
ถึงอย่างไรก็ตามพลาสติกทั้งสองชนิดนี้ก็สามารถนำไปใช้ในงานได้อย่างหลากหลาย เพียงแต่ เราต้องใช้ให้เหมาะสมกับงานเท่านั้น
เบอร์ที่ระบุทั้งใยแก้วและในผ้าคือน้ำหนักเป็นกรัมต่อพื้นที่ 1 ตรม. เช่นใยผ้าเบอร์ 200 คือ พื้นที่ใยผ้าขนาด 1×1 ตรม มีน้ำหนัก 200 ก. ใยผ้าจะนำเอาใยแก้วที่บางเหมือนเส้นด้ายมาทอเป็นผ้า ส่วนแผ่นใยแก้วคือการตัดเส้นใยแก้วเป็นเส้นสั้นๆแล้วมาอันกันเป็นแผ่น
ใช้ Pu foam ธรรมดา 25 เท่า สามารถขยายตัวได้มาก ความหนาแน่นลอยน้ำได้ดี
ไม่เหมาะเพราะแว๊กซ์ขัดสีรถไม่ทนความร้อน เมื่อนำมาใช้ถอดแบบเวลาเรซิ่นแข็งตัวเกิดความร้อนสูงจะละลายแว๊กซ์ทำให้ติดกับแม่พิมพ์
Epoxy resin เคลือบแข็ง ชนิดนี้เป็นตัวที่เซ็ตตัวและแข็งตัวเร็วมาก เราควรผสมแต่น้อย เมื่อผสมจนเข้าเป็นเนื้อเดียวกันแล้วต้องเทหรือรีบทาบนชิ้นงานทันที เพราะเมื่อส่วนผสมรวมกันอยู่ในแก้วจะคายความร้อนออกมายากกว่าที่ทาหรือเทลงในพื้นที่บางๆ
เรซิ่นแต่ละชนิดควรนำไปใช้ให้ถูกงานดีที่สุด แต่ถ้ากรณีไม่มีและจำเป็นต้องใช้จริงๆ ก็ใช้ได้แต่คุณภาพบางอย่างจะลดลง เช่น เรซิ่นหล่อทั่วไปถ้านำมาใช้งานไฟเบอร์จะเปราะแตกง่ายกว่า ถ้านำเรซิ่นไฟเบอร์ไปหล่องานชิ้นใหญ่จะร้อนและเปราะแตกง่ายแต่ถ้าหล่องานชิ้นเล็กๆ สามารถใช้ได้ดี
น้ำมันสนหรือน้ำมันก๊าด
Hardener ของทั้งเรซิ่นและซิลิโคน มีฤทธิ์เป็นกรด รีบเปิดน้ำแรง ๆ ล้าง น้ำยาออกให้มากที่สุด แล้วใช้สบู่ฟอกล้างให้สะอาด
ผสมแคลเซียม แล้วแต่งสีลงในเรซิ่นตามเฉดสีที่ต้องการ
เวลาผสมสีลงในน้ำเทียนห้ามเทผงสีลงในน้ำเทียนโดยตรง ต้องตักน้ำเทียนออกมาส่วนหนึ่งก่อน จึงค่อยผสมสีลงไปคนใช้สีละลายจนหมดค่อยเทลงในหม้อน้ำเทียน จึงแก้ปัญหานี้ได้
ควรหล่อทับดอกไม้หรือใบไม้ที่ถูกดึงความชื้นออกแล้วเท่านั้น ถ้าหล่อทับของสดไม่กี่วันจะเกิดเชื้อราและเน่าอยู่ด้านในเรซิ่น สีและรูปร่างจากที่สวยงามจะหายไป
เคลือบแผงบางๆ ใช้ epoxy resin เคลือบแข็ง ถ้าเคลือบหนา ใช้ epoxy resin เคลือบแข็งใสเนื่องจากเซ็ตตัวช้าไม่เกิดความร้อนสูงไม่เกิดผลกระทบต่อวงจร แต่ไม่ควรหนาเกิน 1 ซม ในกรณีชิ้นเล็กๆ สามารถผสมสีผสมเรซิ่นเพื่อปิดไม่ให้เห็นวงจรได้
Pu foam ไม่ติดซิลิโคนหล่อได้ รวมถึงยังไม่ติดพลาสติกพวก Pe และ Pp ด้วย
พื้นที่ 1 ตรม ใช้น้ำยา 1 กก ได้ความหนา 1 มม ถ้าพื้นที่ 2.5 ตรม ใช้ น้ำยา 2.5 กก Epoxy resin เคลือบแข็งอเนกประสงค์ 1 ชุด มี part a 1 กก part b 0.25 กก รวม 1.25 กก เท่ากับใช้ 2 ชุด
Pu foam ธรรมดา 1 ชุด ได้ปริมาตร 50 ลิตร
Pu foam ไม่ลามไฟ 1 ชุด ได้ปริมาตร 48 ลิตร
Pu foam แข็ง ฟู 10 เท่า ได้ปริมาตร 20 ลิตร
Pu foam ไม้เทียม ได้ปริมาตร 10 ลิตร